วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเซ็ตไบออสเบื้องต้น

                                                                            ก า ร เ ซ็ ต B I O S

 BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ BIOS รับรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป
  
BIOS (Basic Input/Output System), CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)  
ขั้นตอนการทำงานของ BIOS  


1.
เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น คีย์บอร์ด , ดิสก์ไดรฟ์, จอภาพ, หน่วยความจำ ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้) และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
2.
โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใ้ช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP 
3.
โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน 
4.
เมื่อระบบปฏิบัติการเิริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ต่อระบบปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
5.
เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆ ที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้ 
POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ 
         เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง  
4 ขั้นตอนการทำงานของ POST 
          ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 
1.
แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต, ชื่อรุ่น, ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
2.
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ จากภาพที่ 2-2 เป็น BIOS ของ Award บนเมนบอร์ดซึ่งใช้ชิปเซ็ต Intel 430HX
3.
ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์  
4.
เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP ) มาทำงานต่อไป 
ข้อแนะนำ 
          Bios ที่ใช้กันแพร่หลายมี 2 ค่าย คือ Award และ Ami แต่มีหลายเวอร์ชั่น การ Set Bios แต่ละรุ่นจึงต้องอาศัยความเข้าใจมากกว่าการจดจำ
ตัวอย่างหน้าจอ Bios Setup ของ Award และ Ami

การเข้าโปรแกรม Bios
          เมื่อเปิดเครื่องแล้ว ให้กดปุ่ม Delete ไปเรื่อยๆ จนเข้าโปรแกรม Bios โดยบางรุ่นจะใช้ Ctrl+Esc จะขึ้นหน้าจอ ดังรูป
Standard CMos Setup





  • Date กำหนดวันที่







  • Time กำหนดเวลา







  •  Primary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ Boot Windows และลงโปรแกรม






  •  Primary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล






  •  Secondary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล






  •  Secondary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล






  •  Drive A กำหนด Floppy Disk




  •  
    Bios Feathers Setup 
              Boot Sequence กำหนดลำดับการ Boot เครื่อง ควรตั้งไว้ A: , C: เพื่อสามารถใช้การ Boot จากแผ่น Startup Disk ได้
    IDE HDD Auto Detection
               สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถค้นหาฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง
    Save & Setting Setup
              แน่นอนเมื่อตั้งค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการแล้ว ก็ต้อง Save ไว้ ให้ตอบ Y แล้ว Enter
    Boot ใช้งานตามต้องการได้ต่อไป


     อ้างอิงจาก : http://203.172.182.172/~kriengsak/computer/computer/bios.html